วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

อาหารกับสุขภาพ

อาหารเช้าป้องกัน "โรค+อ้วน"

มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด เพราะไม่เพียงเติมพลังงานให้ร่างกายและสมองให้พร้อมที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดวัน อาหารเช้ายังป้องกันโรคเบาหวาน หัวใจและโรคอ้วนได้อีก

อาหารเช้าลดน้ำหนัก
ใครที่ลดน้ำหนักอยู่ และคิดว่าการงดอาหารเช้าจะช่วยให้ผอมได้ คุณกำลังทำสิ่งที่ตรงกันข้าม การงดอาหารเช้าทำให้ร่างกายลดระบบเผาผลาญลง สมองจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า นิวโรเพปไทด์ วาย (neuropeptide Y) ซึ่งจะส่งสัญญาณให้คุณกินโดยไม่รู้ตัว มีภาวะที่เรียกว่า " อาการกินกลางคืน " (night eating syndrome) คือเมื่อเริ่มกินมื้อกลางวันแล้ว คุณจะหยุดไม่ได้จนกระทั่งเข้านอน

คนที่งดอาหารเช้ามักกินจุบจิบและเลือกอาหารที่กินสะดวก ซึ่งอาจมีไขมัน น้ำตาลและแคลอรีสูง นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดยืนยันว่า ไม่ว่าหญิงหรือชายที่กินอาหารเช้าทุกวันจะอ้วนยากกว่าคนที่งดอาหารเช้า นอกจากนี้ นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์แมทสาชูเสทยังพบว่า คนที่งดอาหารเช้าบ่อยๆ มีแนวโน้มจะอ้วนได้มากกว่าคนที่กินอาหารเช้าเป็นประจำถึง 45% ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ กลุ่มผู้หญิงที่กินอาหารเช้าที่มีแคลอรีมากกว่ามื้ออื่นๆ จะลดน้ำหนักลงได้ดีกว่า และ 78% ของคนที่ลดความอ้วนแล้วสามารถประคับประคองน้ำหนักให้คงที่ได้ เป็นพวกที่กินอาหารเช้าทุกวัน ทำไมการกินอาหารเช้าทำให้น้ำหนักลดได้ ยังไม่มีคำตอบชัดเจน รู้แต่เพียงว่า อาหารเช้าช่วยให้หิวน้อยตลอดวัน อย่างไรก็ตามคุณภาพและปริมาณอาหารเช้ามีความสำคัญ ควรจัดให้มีความสมดุลของสารอาหาร และเพื่อลดน้ำหนักจะต้องไม่กินมากเกินไป

อาหารเช้าลดโรค
การกินอาหารเช้าช่วยป้องกันโรคหัวใจ และน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นอาการเตือนของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย จากผลการวิจัยคนที่กินธัญพืชไม่ขัดสีทุกวันเป็นอาหารเช้ามานานกว่า 5 ปี จะมีอายุยืนขึ้น เพราะธัญพืชไม่ขัดสีมีสารแอนติออกซิแดนท์ ใยอาหารและปัจจัยอื่นช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยลดคอเลสเทอรอลในเลือดและความดันโลหิต ส่งเสริมให้ร่างกายใช้กลูโคสและฮอร์โมนอินซูลินได้ดีขึ้น ธัญพืชที่มีโปรตีนถั่วเหลืองผสมจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น เพราะโปรตีนถั่วเหลืองช่วยลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือดได้ ส่วนอาหารที่มีองค์ประกอบของกรดโฟลิค วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 จะช่วยลดสารโฮโมซิสเตอีนในเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อหลอดเลือด

อาหารเช้าเพิ่มพลังสมอง
ระหว่างที่นอนหลับร่างกายเรายังคงใช้พลังงานตามปกติ พลังงานเหล่านั้นมาจากกลูโคสที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ กว่าจะถึงเช้ากลูโคสมากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไป ร่างกายจึงต้องการเติมพลังงาน ซึ่งอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะเป็นตัวเริ่มขับเคลื่อนพลังงานให้กับร่างกายได้ดีที่สุด
สมองของคนเราก็ใช้กลูโคสเป็นพลังงานด้วยเช่นกัน แต่สมองไม่สามารถเก็บสะสมกลูโคสส่วนที่เหลือได้เหมือนกับการที่ร่างกายสะสมพลังงาน ฉะนั้นอาหารเช้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สมองเราทำงานได้เฉียบไว หากงดอาหารเช้า คุณอาจไม่รู้สึกอะไร เพราะมีพลังงานสำรองจากการพักผ่อน แต่พอใช้หมดไปร่างกายจะเข้าสู่ภาวะเครียด และแม้ว่าจะกินชดเชยในมื้อเที่ยง ก็สายเกินไป เพราะเวลาที่ร่างกายต้องการพลังงานส่วนนั้นได้ผ่านไปแล้ว

กินอะไรดีที่สุดสำหรับสมอง
นักวิจัยได้ลองให้ชาย - หญิง 22 คน อายุ 60-70 ปี ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรตล้วนๆ โปรตีนล้วน ไขมันล้วน เครื่องดื่มทั้ง 3 ชนิดให้พลังงานช่วยให้การทำข้อสอบเกี่ยวกับความจำระยะสั้นดีขึ้น แต่ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาร์โบไฮเดรตทำได้ดีที่สุด ในการทบทวนความจำหลังจากดื่มไป 1 ชั่วโมง ชี้ให้เห็นว่าคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง
เมื่องดอาหารเช้า เราจะไม่ได้สารอาหารสำคัญที่ช่วยความจำตลอดวัน แม้แต่การขาดสารอาหารเพียงเล็กน้อย ประเภทกรดโฟลิค วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 ก็จะลดความจำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้น คนสูงอายุจะดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยลง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปเสริมกรดโฟลิค ซึ่งมีมากในธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียวจัด ถั่ว น้ำส้มคั้น ฯลฯ

อาหารเช้าที่ควรใส่ใจ
ถ้าต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารเช้ามากขึ้น ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มีองค์ประกอบดังนี้

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ดีที่สุดสำหรับอาหารเช้า เพราะจะค่อยๆ ปลดปล่อยกลูโคสให้กับสมองโดยใช้เวลานานขึ้นในการย่อยและดูดซึม แนะนำให้เลือกธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้

โปรตีน อาหารทะเลให้กรดอะมิโน เพื่อผลิตสารสื่อข่าวสมอง ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบีและโคลีนช่วยการทำงานเกี่ยวกับความจำ แม้ไข่มีคอเลสเทอรอลสูง แต่ไข่วันละฟองในมื้ออาหารที่สมดุลนั้น ข้อมูลการวิจัยเปิดเผยว่าไม่เป็นผลเสีย

อาหารแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริมแคลเซียม น้ำส้มเสริมแคลเซียม ช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกาย

ที่มา : http://www.healthandcuisine.com

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

การป้องกันโรค


การป้องกันโรค หมายถึง การขจัดหรับยับยั้งพัฒนาการของโรครวมถึงการประเมินและการรักษาเฉพาะ เพื่อจัดความก้าวหน้าของโรคในทุกระยะ เป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บกับคน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การป้องกันทำได้ง่ายกว่าการรักษา ซึ่งดีกว่าที่จะมารักษาตอนป่วยแล้ว เหมือนกับซ่อมร่างกาย อวัยวะของคนไม่มีเปลี่ยนเหมือนอุปกรณ์รถยนต์ เราจึงต้องป้องกันไว้ก่อน

การป้องกันโรคแบ่งได้เป็น 3 ดับ ดังนี้

1. การป้องกันโรคระดับแรก (Primary prevention) หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปรวมถึงการปกป้องและต่อต้านการเกิดเฉพาะโรค ได้แก่ การให้สุขศึกษา การรับประทานอาหารเหมาะสมตามวัย การพัฒนาบุคลิกภาพ การทำงาน การพักผ่อน และนันทนาการอย่างเหมาะสม การได้รับคำปรึกษากับการแต่งงานและเรื่องเพศ การคัดกรองพันธุกรรม การตรวจสุขภาพ

2. การป้องกันโรคระดับที่สอง (Secondary prevention) หมายถึง การได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกของโรคแปละได้รับการรักษาทันท่วงที ความรุนแรงของโรคที่เป็นมีระยะเวลาสั้นสามารถกลับสู่สภาวะของการมีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว

3. การป้องกันโรคระดับที่สาม (Tertiary pervention) เป็นระดับที่ไม่เพียงแต่หยุดการดำเนินของโรคเท่านั้น แต่จะต้องป้องกันความเสื่อมสมรรถภาพอย่างสมบูรณ์ จุดประสงค์ก็คือให้กลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันโรคเป็นอย่างยิ่ง โดยใน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ จำนวน 500,000 บาท เพื่อใช้สร้างอาคาร “มหิดลวงศานุสรณ์” ในบริเวณสถานเสาวภา สำหรับใช้ในกิจการทางด้านวิทยาศาสตร์และผิตวัคซีน บี ซี จี เพื่อปป้องกันวัณโรค ซึ่งผู้คนขณะนั้นประสบปัญหาจากวัณโรคอย่างร้ายแรง
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคมากยิ่งขึ้น จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดของวัณโรค ดังนี้

วัณโรค (Tuberculosis)

วัณโรคเป็นโรคติดต่อ ที่ยังเป็นปัญหาของประเทศไทยเรา และประเทศด้อวยพัฒนาอีกหลายประเทศ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมียารักษาที่มีประสิทธิภาพสูงก็ตาม แต่เมื่ออัตราการเป็นเอดส์ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ก็ย่อมทำให้อัตราการเป็นวัณโรคเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้ป่วยเอดส์มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันจึงติดเชื้อโรคได้ง่ายและขณะนี้กำลังมีการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรคที่มีความต้านทานต่อยาสูง ซึ่งมักเกิดร่วมกับการติดเชื้อโรคเอดส์

สาเหตุ

วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Tubercle bacilli ซึ่งประกอบด้วย Mycobacterium Tuberculosis, Mycobacterium Bovis, Mycobacterium Africanum ที่ทำให้เกิดโรคในคนเกือบทั้งหมด คือ Mycobaterium Tuberculosis
เชื้อวัณโรคสามารถล่องลอยอยูในอากาศได้เป็นเวลานาน ในบริเวณชื้น อับแสง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้เป็นเดือน แต่ถ้าถูกแสดงแดดโดยตรง เชื้อจะตายภายใน 2 – 3 ชั่วโมง และสามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% ฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 10 นาที

วิธีการติดต่อ

การติดต่อได้ง่ายที่สุดและพบได้บ่อย คือ การติดต่อโดยทางเดินหายใจ เมื่อผู้ป่วยไอจามหรือหัวเราะ จะปล่อยเชื้อออกมาล่องลอยในอากาศกับฝอยน้ำลาย เมื่อมีผู้สูดหายใจเข้าไปในถุงลมจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น ส่วนการติดต่อทางการรับประทาน ทางบาดแผล และทางอวัยวะสืบพันธุ์พบน้อยมาก แหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือ ผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ

อาการและอาการแสดง

ก. อาการและอาการแสดงทั่วไปที่พบบ่อย
ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงหรือต่ำก็ได้ และอาจเป็นตลอดวันหรือไข้ตอนกลางคืน อาการไข้มักจะเป็นเกินสองสัปดาห์ มักมีอาการไอร่วมด้วย หรือบางครั้งอาจไม่มีไอ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซูบซีด ซึ่งมักพบในรายที่โรคเป็นระยะลุกลาม

ข. อาการเฉพาะระบบ
อาการที่เกิดขึ้นแล้วแต่จะเกิดกับระบบใดของร่างกาย ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง ทางเดินปัสสาวะ กระดูกและข้อ เยื่อหุ้มสมอง ระบบทางเดินอาหาร
สำหรับวัณโรคปอดซึ่งพบบ่อย อาการที่พบ คือ ไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ 50-70 % มีไอเป็นเลือด ในรายที่เลือดออกมาก ๆ เกิดจากการแตกของหลอดเลือดแดง ที่อยู่บนผนังโพรงแผล ถ้าเยื้อหุ้มปอดอักเสบมักจะมีอาการเจ็บหน้าอก หรือถ้าเกิดน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีอาการแน่นหน้าอก
วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง มีอาการปวดศรีษะ อาเจียน ตึงต้นคอ
วัณโรคกระดูกสันหลัง มีอาการปวดกระดูก ปวดหลัง เป็นมากในเวลากลางคืน
วัณโรคระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน ซึ่งมักพบรอยโรคในปอดด้วย

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรค อาศัยลักษณะหลายอย่างประกอบด้วย ดังนี้
ลักษณะทางคลินิก
การตรวจเสมหะ
การตรวจโดยการเอ็กซเรย์ทรวงอก
การทดสอบทูเบอร์คูลิน
การตรวจโดยวิธีอื่น ๆ เช่น การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิ การเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และการตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอดตรวจ

การรักษา

หลักการรักษาที่สำคัญ มีดังนี้
ต้องได้รับประทานยาอย่าต่ำสองขนาน เพื่อป้องกันการดื้อยา
ต้องได้รับยาสม่ำเสมอ และนานพอ เพื่องป้องกันการกลับเป็นใหม่
รับประทานอาหารที่ดีมีคุณค่าแก่ร่างกาย ได้รับการพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ปัจจุบันนี้มียาหลายขนาน ซึ่งจัดออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ คือ (มาลี เซ็นเสถียร. 2535 : 88)
ยาหลักในการรักษามี 6 ขนาน คือ ไอโซไนอะซิค (Isoniazid) ไรแอมพิซิน (Riampicin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ไพราซินาไมต์ (Pyrazinamide) มีแธมบูทอล (Ethambutal) ธัยอะเซทาโซน (Thiacetazone)
ยาสำรอง ใช้ในกรณีเชื้อดื้อยาหลัก ได้แก่ คานามัยซิน (Kanamycin) เอทธิโอนาไมด์ (Ethionamide) ไซโคลซีริน (Cycloserine)

การป้องกัน

ถึงแม้จะมียารักษาวัรโรคที่มีประสิทธิภาพก็ตามวัณโรคยังเป็นปัญหาสำคัญทางการสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และขณะนี้สามารถระบาดได้ในทุกสภาพภูมิประเทศทั่วโลก ไม่แต่เฉพาะที่ชื้น อับแสง และแออัดเท่านั้น
หลักการทั่วไปของการป้องกัน
ให้ภูมิคุ้มกัน โดยฉีดวัคซีน บี ซี จี (B C G = Bacillus Calmette - Gruerin) ควรฉีดตั้งแต่แรกเกิด ผู้ที่ได้รับวัคซีน จะมีความต้านทานโรคได้สูงกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด ระยะเวลาคุ้มกันในร่างกายไม่แน่นอน จากการศึกษาพบหลังอายุ 10 ปี ภูมิคุ้มกันจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนซ้ำเมื่ออายุ 7 – 8 ปี
การให้ยาต้านวัณโรคในคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน เช่ย เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ แพทย์ พยาบาล และบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว pop


ชื่อ - สกุล นายอภิสิทธิ์ สองศรี

ชื่อเล่น ป๊อป

รหัสนิสิต 50011410097

คณะ สาธารณสุขศาสตร์

สาขา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัย มหาสารคาม